หน้าเว็บ

hello

hello
ยินดีต้อนรับสู่บ้านของเราค่ะ

วันพฤหัสบดีที่ 14 เมษายน พ.ศ. 2554

horsetailสมุนไพรที่ช่วยให้รากผมแข็งแรง

Horsetail เป็นสมุนไพรที่เติบโตอย่างแพร่หลายในพื้นที่อากาศหนาวของซีกโลกเหนือในเอเชียยุโรปและอเมริกาเหนือ

Horsetail ถูกนำมาใช้เป็นยาพื้นบ้านตั้งแต่สมัยโรมันโบราณ โดยเชื่อว่าให้การรักษาในเรื่องของการหยุดยั้งผมร่วงได้ Horsetail  อุดมไปด้วยซิลิกา ซึ่งเป็นสิ่งจำเป็นของร่างกาย ในการรักษาโรคกระดูกพรุน การบาดเจ็บ ปัญหาผิวและกระตุ้นการเจริญเติบโตตามธรรมชาติผม และช่วยให้ผมมีสุขภาพดี และแข็งแรง พร้อมด้วยแร่ธาตุอื่นๆ ที่มีอยู่ในฮอสเทล เช่น โพแทสเซียม,flavoniod,alkaloid,sterol กรดไขมันและอื่นๆ

นอกจากนี้ฮอสเทลยังช่วยกระตุ้นการไหลเวียนและให้ความแข็งแรงแก่รูขุมขน คุณสมบัติดังกล่าว จึงทำให้ฮอสเทลกลายเป็นส่วนผสมที่เราพบได้บ่อยๆในการรักษาผมร่วง

ประโยชน์อื่นๆของ horsetail

Horsetail แบบดั้งเดิมใช้เป็นยาขับปัสสาวะในการรักษาอาการบวมน้ำ และยังใช้ในการรักษาโรคกระดูกพรุน,เพิ่มความหนาแน่นของกระดูก,ทางเดินปัสสาวะอักเสบและรักษาแผล(เฉพาะที่)

ปริมาณแนะนำที่รับประทาน ครั้งละ300มก.3ครั้ง/วัน

ผู้ป่วยโรคไตและผู้ป่วยที่มีความผิดปกติของจังหวะการเต้นของหัวใจควรหลีกเลี่ยงการใช้

เรื่องของเหงื่อ



เหงื่อ เป็นของเสียชนิดหนึ่งที่ร่างกายขับออกมาในรปของเหลว และจะขับออกมาทางผิวหนังหรือตามซอกต่างๆของร่างกาย มักมีรสเค็มเพราะมีเกลือเป็นส่วนประกอบ การออกกำลังกายหรือเวลาอากาศร้อนก็มีเหงื่อได้เช่นกัน
เหงื่อประกอบด้วยน้ำ99% ส่วนอีก 1% ได้แก่ โซเดียมคลอไรด์ ยูเรีย น้ำตาล ไขมัน กรดอะมิโนบางชนิด โพแทสเซียม แมกนีเซียม เหล็ก

ชนิดของเหงื่อ
ต่อมเหงื่อชนิดนี้พบทั่วตามร่างกาย ได้แก่ ผิวหนัง ฝ่ามือ ฝ่าเท้า ซึ่งจะผลิตเหงื่อที่มีลักษณะใสเหมือนน้ำ ไม่มีกลิ่น เพราะร่างกายจะขับเหงื่อชนิดนี้ออกมาเมื่อทำกิจกรรมหนักๆ หรืออยู่ในสภาวะอากาศร้อน

เหงื่อที่ผลิตจาก Apocrine Sweat Glands

ต่อมเหงื่อชนิดนี้กระจายตัวอยู่บางแห่งของร่างกาย เช่น รักแร้ ขาหนีบ ทวารหนัก หัวหน่าว ก้น แผ่นหลัง เหงื่อที่ได้จะมีลักษณะเหนียวใสและมีส่วนผสมของไขมันอยู่มากจึงทำให้เหงื่อชนิดนี้มีกลิ่น ซึ่งกลิ่นเหล่านี้ทำหน้าที่ในการกระตุ้นอารมณ์เพศจึงเป็นคนละกลิ่นที่เกิดจากการหมักหมมของขี้ไคล

การขับเหงื่อ
เหงื่อจะเกิดขึ้นเมื่อร่างกายของเราสัมผัสกับสิ่งกระตุ้นของ "ความร้อน" และ "อารมณ์" ซึ่งทำให้สมองหลั่งสารเคมีชื่อ แอซีทิลโคลีน (Acetylcholine) ที่อยู่บริเวณปลายประสาทออกมากกระตุ้นต่อมเหงื่อให้ผลิตเหงื่อ

ปริมาณเหงื่อของแต่ละคนขึ้นอยู่กับ 2 ปัจจัย คือ
ความผันผวนของอากาศ ซึ่งอากาศร้อนมีความชื้นในอากาศสูงจะทำให้เหงื่อออกมากกว่าวันที่ฝนตกซึ่งมีความชื้นในอากศต่ำ
กิจกรรมที่ทำในแต่ละวัน หากต้องออกแรงมากจะทำให้เหงื่อออกมากซึ่งตรงข้ามกับผู้ที่ไม่ค่อยจะออกแรง

ปัจจัยเสริม

โรคบางชนิดสามารถทำให้ปริมาณของเหงื่อเปลี่ยนแปลได้ เช่น โรคเครียด ต่อมไทรอยด์เป็นพิษหรือคอพอก วัณโรค เบาหวาน โรคหัวใจ ภาวะใกล้หมดประจำเดือน สิ่งเหล่านี้ทำให้เหงื่อออกมาก ส่วนโรคผิวหนังไม่ว่าจะเป็นผด ผื่น สะเก็ดเงิน ผิวหนังแตกหยาบ ไมเกรนจะทำให้เหงื่อออกน้อย

อ้างอิง   นิตยสารชีวจิต ฉบับวันที่ 16 พศจิกายน 2551
และ       http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B9%80%E0%B8%AB%E0%B8%87%E0%B8%B7%E0%B9%88%E0%B8%AD

สมุนไพรบำรุงสุขภาพผม

ไปอ่านเจอ เห็นว่าเป็นเคล็ดลับ ทำได้เองง่ายๆ เลยเอามาฝากจ้า..^^

ผมร่วง เชิญทางนี้
ใครที่ผมร่วงเป็นหย่อม ๆ สระทีผมหลุดออกมาเป็นกระจุก ปล่อยไว้เสี่ยงหัวล้านแน่ รีบหาน้ำมันมะกอกมาทาผมให้ทั่วแล้วนวดศีรษะทำสักพักค่อยล้างออกด้วยสบู่ หรือแชมพู ทำสัปดาห์ละ 2 ครั้ง ไม่เกิน 1 เดือนผมจะค่อย ๆ หยุดร่วง
รังแค กวนใจไม่หยุดหย่อน
เมืองไทยคงไม่มีวันมีหิมะตกแน่ ๆ เพราะฉะนั้นใครมีรังแค ไหนจะเสียบุคลิก ไหนจะคันแย่ แนะนำผลมะคำดีควายทุบพอแหลก ต้มในน้ำให้เดือด นำน้ำที่ได้สระผมสัปดาห์ละ 2-3 ครั้ง จะทำให้หนังศีรษะสะอาด ป้องกันการเกิดรังแค แถมแก้โรคชันตุได้อีกด้วย ส่วนใครที่มีอาการคัน ให้นำว่านหางจระเข้ปลอกเปลือก เอาแต่ส่วนที่เป็นวุ้นมาบดประมาณ 2 ช้อนโต๊ะ เวลาสระผมให้ขยี้วุ้นว่านหางจระเข้ทาให้ทั่วผมทิ้งไว้ประมาณ 3-5 นาที ล้างออกให้สะอาด ช่วยบำรุงหนังศีรษะ ลดอาการคันได้ชะงัด
ยี้ มีเหามารังควาน
สูตรเดิมที่เคยรู้ใบน้อยหน่ายังใช้ได้อยู่ เด็ดมาสัก 8 ใบ โขลกให้ละเอียดผสมน้ำ ทาผมให้ทั่ว เอาผ้าคลุมทิ้งไว้สักครึ่งชม.ค่อยล้างออก สระผมตามอีกครั้ง แต่ระวัง! น้ำน้อยหน่าเข้าตา ขอเตือนว่าแสบมาก ใครไม่มีใบน้อยหน่าแนะนำให้ใช้ใบสะเดาแก่ ๆ แทนได้ วิธีการเหมือนกันเป๊ะ
นอกจากนี้ ยังมีสมุนไพรอีกมากที่เป็นประโยชน์กับเส้นผมและหนังศีรษะ ต่อไปก่อนซื้อแชมพู อ่านส่วนผสมก่อนว่ามีที่เราต้องการหรือยัง ?
ผมมัน : เลือกสารสกัดจากธรรมชาติ พวก แตงกวา กระเพรา เบอร์กามอท และจูนิเปอร์ ช่วยลดความมันเยิ้มของหนังศีรษะ เส้นผมหลีบแบนได้ ผมแห้ง : เลือกสารสกัดจากดอกกล้วยไม้ กระเพรา โสม ขิง ช่วยให้ผมแห้งเสียกลับมามีน้ำหนัก สปริงตัวสวยอีกครั้ง ผมแตกปลาย : เกิดจากใช้แชมพูที่มีกรดหรือด่างมากเกินไป เลือกสารสกัดจากตะไคร้ น้ำมันมะกอก ลูกมะกรูด ลดอาการแตกปลายได้ ผมธรรมดา : นับว่าเป็นคนโชคดีสุด ๆ แต่ต้องไม่ลืมบำรุงสม่ำเสมอ ไม่งั้นสภาพผมอาจแย่ได้ เลือกที่มีสารสกัดดอกฮอลลี่ฮ็อก กระเพรา อัญชัน มะกรูด ช่วยให้ผมดกดำ เงางามยิ่งขึ้น
เห็นไหมว่า สมุนไพรไทย ภูมิปัญญาไทย เจ๋งจริง.

ขอบคุณ ข้อมูลจากเว็บสมุนไพรดอทคอม
ที่มาข้อมูล : หนังสือพิมพ์เดลินิวส์